เมนู

อภิธรรมนั้นไม่ได้ จึงโกรธ แล้วเข้าไปหาพระอานนทเถระ พระเถระ
นั้น แสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์น้อยนัก, พวกข้าพระองค์โกรธแม้ต่อ
ท่าน แล้วมาในที่นี้.

การนินทาสรรเสริญเป็นของเก่า


พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงตรัสว่า " อตุละ ข้อ
นั้น เขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว, ชนทั้งหลายติเตียน ทั้ง
คนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว, ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียน
อย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียวไม่มีเลย; แม้
พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ, แผ่นดิน
ใหญ่ก็ดี, พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี, ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี, คน
บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ, แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประทับ
นั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท 4 บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ;
ก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ; แต่ผู้ที่ถูก
บัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่า เป็นอันติเตียน ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญ
แล้ว ชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญ " ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้
ว่า :-
7. โปราณเมตํ อตุล เนตํ อชฺชตนามิว
นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ
เอกนฺติ นินฺทิโต โปโส เอกนฺตํ วา ปสํสิโต
ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ อนุวิจฺจ สุเว สุเว

อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ ปญฺญาสีลสมาหิ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต.
" อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของ
เก่า, นั่นมิใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้, ชนทั้งหลาย
ย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง,
ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง.1 ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มี
ในโลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขา
สรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่
มีอยู่ในบัดนี้; หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุก ๆ วัน
สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มี
ปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล, ใครเล่าย่อมควร
เพื่อติเตียนผู้นั้นผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท2, แม้เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรร-
เสริญแล้ว. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปราณเมตํ คือการนินทาและสรรเสริญ
นั่นเอง เป็นของเก่า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุบาสกนั้นว่า " อตุละ. "
บาทพระคาถาว่า เนตํ อชฺชตนามิว ความว่า การนินทาหรือ
สรรเสริญนี้ เป็นเหมือนมีในวันนี้ คือเกิดขึ้นเมื่อตะกี้ หามิได้. อธิบายว่า
1. ตามพยัญชนะว่า ผู้พูดพอนับได้. 2. ทองพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากแม่น้ำชมพู.